วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ธรณีภาค (lithosphere)

 
                        
ธรณีภาค(lithosphere)
ธรณีภาค (lithosphere) คือ ได้แก่ แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ซึ่งเป็นพิบัติภัยที่มี ผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  ทำให้เกิดทฤษฎีหลากหลาย แต่ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันและอธิบายถึงกำเนิดของแผ่นดิน มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมอยู่ในหินบนเปลือกโลก คือ ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonic)
                ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมันชื่อ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr. Alfred Wegener) ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับการเลื่อนของแผ่นธรณีภาคจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยกำหนดว่า เมื่อประมาณ 3,002,200 ล้านปีมาแล้ว ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันเรียกว่า พันเจีย (pangaea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด (all land) ต่อมาเกิดการเลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาคเป็นขั้นตอน ดังนี้
               1. เมื่อ 2,002,135 ล้านปี พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาทางตอนใต้ โดยกอนด์วานาจะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็นอินเดีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา
               2. เมื่อ 135,265 ล้านปี มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ แต่ออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตาร์กติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปยังคงต่อเนื่องกัน
               3. เมื่อ 65 ล้านปี ปัจจุบัน มหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียแยกจากแอนตาร์กติกา และอินเดียเคลื่อนไป       ชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขาหิมาลัย กลายเป็นแผ่นดินและผืนมหาสมุทรดังปัจจุบัน

หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา
             หลักฐานและข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อในทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ได้แก่
                        1. รอยต่อของแผ่นธรณีภาค
                        2. รอยแยกของแผ่นธรณีภาค และอายุของหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
                        3. การค้นพบซากดึกดำบรรพ์
                        4 . การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
                        5. สนามแม่เหล็กโลกโบราณ
รอยต่อของแผ่นธรณีภาค
             นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป และแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร รวมทั้งหมด 12 แผ่น ได้แก่
1. แผ่นยูเรเชีย                                                                     2. แผ่นอเมริกาเหนือ
3. แผ่นอเมริกาใต้                                                                4. แผ่นอินเดีย (แผ่นออสเตรเลีย2อินเดีย)
5. แผ่นแปซิฟิก                                                                   6. แผ่นนาสกา
7. แผ่นแอฟริกา                                                                   8. แผ่นอาระเบีย
9. แผ่นฟิลิปปินส์                                                               10. แผ่นแอนตาร์กติกา
11. แผ่นคาริบเบีย                                                              12. แผ่นคอคอส
แต่ละแผ่นธรณีภาคจะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน บางแผ่นเคลื่อนที่แยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนที่ผ่านกัน นอกจากนั้นยังมีรอยเลื่อนปรากฏบนแผ่นธรณีภาคบางแผ่น เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียสบนแผ่นอเมริกาเหนือ รอยเลื่อนแอนาโทเลียบนแผ่นยูเรเชีย  เป็นต้น
เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตก ของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี เสมือนหนึ่งว่าทวีปทั้งสองน่าจะเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ จนมีตำแหน่งและรูปร่างดังปัจจุบัน
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเป็นผลทำให้แผ่นธรณีภาคเกิดการเคลื่อนที่แยกออกจากกันจนทำให้มีลักษณะดังปัจจุบัน  รอยแยกของแผ่นธรณีภาคและอายุหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
ลักษณะเด่นของพื้นที่มหาสมุทรแอตแลนติก คือ
            1. เทือกเขากลางมหาสมุทรซึ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขายาวที่โค้งอ้อมไปตามรูปร่างของขอบทวีป ด้านหนึ่งเกือบขนานกับชายฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่งของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา
           2. เทือกเขากลางมหาสมุทรมีรอยแยกตัวออกเป็นร่องลึกไปตลอดความยาวของเทือกเขา
           3. มีรอยแตกตัดขวางบนสันเขากลางมหาสมุทรมากมาย รอยแตกเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
         4. มีเทือกเขาเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกของพื้นมหาสมุทร บริเวณที่เป็นประเทศอังกฤษในปัจจุบัน เป็นเกาะที่อยู่บนไหล่ทวีปที่มีส่วนของแผ่นดินใต้พื้นน้ำต่อเนื่องกับทวีปยุโรป
ในปี พ.ศ. 2503 มีการสำรวจใต้ทะเลและมหาสมุทรใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้พบ หินบะซอลต์ที่บริเวณร่องลึก หรือรอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก และพบว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกจะมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยกหรือในรอยแยก จากหลักฐานดังกล่าวสามารถ อธิบายการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ เมื่อเกิดรอยแยกแผ่นดินจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆ ตลอดเวลา ขณะเดียวกันเนื้อของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะถูกดันแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอยแยกเป็นเปลือกโลกใหม่ ทำให้ตรงกลางรอยแยกเกิดหินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆ โครงสร้างและอายุหินรองรับแผ่นธรณีภาคจึงมีอายุอ่อนสุดบริเวณ เทือกเขากลางมหาสมุทร และอายุมากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทวีป
นักธรณีวิทยาได้ศึกษารอยต่อของแผ่นธรณีภาคพบว่า แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
            1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน ขอบแผ่นธรณีภาคที่แยกจากกันนี้ เนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง แมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลก อุณหภูมิและความดันของแมกมาลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด (rift valley)
            ต่อมาน้ำทะเลไหลมาสะสมกลายเป็นทะเล และเกิดรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตก เป็นผลให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง ทำให้พื้นทะเลขยายกว้างออกไปทั้งสองด้านเรียกว่า กระบวนการขยายตัวของพื้นทะเล (sea floor spreading) และปรากฏเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร เช่น บริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณทะเลแดง รอยแยก แอฟริกาตะวันออก อ่าวแคลิฟอร์เนีย มีลักษณะเป็นหุบเขาทรุด มีร่องรอยการแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆ มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้มหาสมุทร
             ในขณะที่แผ่นธรณีภาคเกิดรอยแตกและเลื่อนตัว จะมีผลทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนไปยังบริเวณต่างๆ ใกล้เคียงกับจุดที่เกิดรอยแตก รอยเลื่อนในชั้นธรณีภาคเกิดเป็นปรากฏการณ์แผ่นดินไหว
            2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่เข้าหากัน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
                       2.1 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมตัวกลายเป็นแมกมาและปะทุขึ้นมาบนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย จะมีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเลลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวของแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก รวมทั้งมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง
                     2.2 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร ที่หนักกว่าจะมุดลงใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่น ที่อเมริกาใต้แถบตะวันตก แนวชายฝั่งโอเรกอนจะมีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเลลึก ตามแนวขอบทวีปมีภูเขาไฟปะทุในส่วนที่เป็นแผ่นดิน เกิดเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ส่วนแนวขอบด้านตะวันออก- เฉียงเหนือของแผ่นธรณีภาคอาระเบียที่เคลื่อนที่เข้าหาและมุดกันกับแนวขอบด้านใต้ของแผ่นธรณีภาคยูเรเชีย จะเกิดเป็นร่องลึกก้นมหาสมุทร และเกิดเป็นเทือกเขาคดโค้งอยู่บนแผ่นธรณีภาคในบริเวณประเทศตะวันออกกลาง ปัจจุบันบริเวณนี้กลายเป็นแหล่งสะสมน้ำมันดิบแหล่งใหญ่ของโลก
                 2.3 แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เนื่องจากแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีปทั้ง 2 แผ่นมีความหนามาก เมื่อชนกันจะทำให้ส่วนหนึ่งมุดลง อีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่เกิดเป็น เทือกเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่น เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เทือกเขาหิมาลัยใน ทวีปเอเชีย เป็นต้น แนวขอบด้านทิศเหนือของแผ่นธรณีภาคอินเดียเคลื่อนที่ชนและมุดกับแผ่นธรณีภาคยูเรเชียทางตอนใต้ ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย

ลักษณะการเคลื่อนที่แผ่นธรณีภาค
การเคลื่อนที่แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่ 3 ลักษณะ
              1.ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกันเป็นแนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน เนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด ปรากฎเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร ภาพด้านล่าง
             2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
แนวที่แผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากันเป็นได้ 3 แบบ ดังนี้
                

2.1.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นธรณีภาคที่มุดลง จะหลอมตัวกลายเป็นแมกมาประทุขึ้นมา เกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร เช่นที่ ญีปุ่น ฟิลิปปินส์ ภาพด้านล่าง
                2.2.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรหนักกว่าจะมุดลงใต้ ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นที่ อเมริกาใต้แถบตะวันตก แนวชายฝั่งโอเรกอน ภาพด้านล่าง
                2.3.แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปอีกแผ่นหนึ่ง เมื่อชนกันทำให้ส่วนหนึ่งมุดตัวลงอีกส่วนหนึ่งเกยอยู่ด้านบน เกิดเป็นเทือกเขาสูง เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแอลป์ ภาพด้านล่าง
             3.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน มักเกิดใต้มหาสมุทร ภาคพื้นทวีปก็มี เนื่องจากการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไมเท่ากัน ทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วย เกิดการเลื่อนผ่านและเฉือนกัน เป็นรอยเลื่อนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ ภาพด้านล่าง

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonics)
            ในช่วงปีค.ศ. 1950s ถึง 1960s ได้มีการศึกษาทางสุมทรศาสตร์อย่างมากเพื่อหาข้อสนับสนุนแนวความคิดต่างๆ ในอดีต และได้ก่อให้เกิดทฤษฎีของเพลตเทคโทนิก (plate tectonics) ขึ้นในเวลาต่อมา ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายว่าการเคลื่อนที่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของแผ่นหินแข็งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก (plates) นั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลกตลอดช่วงธรณีกาล แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ (lithosphere ประกอบด้วยเปลือกโลกและแมนเทิลส่วนบน) ลอยตัวและเลื่อนไหลบนชั้นหินร้อนหรือหินหนืด (ชั้นแมนเทิลที่สามารถไหลได้คล้ายของเหลวเรียกว่า asthenosphere) ที่ซึ่งสามารถเปลี่ยนสภาพและเลื่อนไหลในอัตราส่วนเป็นนิ้วต่อปี และก็ได้เป็นคำตอบของสาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่นั่นเอง
            แผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่แยกออกจากกัน หรือเคลื่อนที่เข้าชนกัน หรือเคลื่อนผ่านกันได้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เรียกว่า divergent, convergent และ transform ตามลำดับ

Divergence
              เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันที่บริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundaries) หินหนืดร้อน (hot magma) จากชั้นแมนเทิลจะแทรกตัวขึ้นมาตามช่องว่างตามแนวการแยกตัว เมื่อหินหนืดเย็นตัวก็จะกลายเป็นแผ่นเปลือกโลกใหม่   การแทรกตัวขึ้นมาของหินหนืดยังช่วยให้แนวแยกตัวนั้นสูงขึ้นกลายเป็นแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร (mid-ocean ridges) ที่ดูเหมือนจะแสดงถึงขอบของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทร เปลือกโลกใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องมีอัตราเร็วในการกำเนิดประมาณ 20 ลูกบาศ์กกิโลเมตรต่อปี
Convergence
          เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรใหม่มีการเย็นตัวเป็นเวลามากกว่าสิบกว่าล้านปี ความหนาแน่นก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นจนมากกว่าชั้นหินหนืดที่อยู่ด้านล่าง จากนั้นก็จะมุดตัวลงไปใต้โลกในกระบวนการที่เรียกว่า subduction การมุดตัวนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent plate boundaries)  ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมีการเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่หนักกว่าจะเข้าชนและมุดตัวใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่เบากว่า

แผ่นดินไหวและภูเขาไฟ
          เมื่อแผ่นเปลือกโลกมุดตัวลงไปในโลก การบดอัดของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองและหลอมเป็นบางส่วน (partially melting) เนื่องจากอุณหภูมิและความดันที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวระดับลึก และภูเขาไฟ ขึ้นเหนือบริเวณที่มีการมุดตัว
การสร้างเทือกเขา
          แรงดันจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรทำให้แผ่นเปลือกภาคพื้นทวีปที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าที่เคลื่อนที่ต้านแรงดังกล่าวเกิดการโก่งตัวเกิดเป็นแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ (mountain ranges) ดังเช่น เทือกเขาหิมาลัย
ร่องลึกมหาสมุทรและหมู่เกาะ
          เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรสองแผ่นเคลื่อนที่ชนกันและการมุดตัว บริเวณที่มีการมุดตัวจะเกิดร่องลึกมหาสมุทร (oceanic trenches)  และแนวหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic island chains)
Transform
          แผ่นเปลือกโลกบางแผ่นมีการเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกันในบริเวณแนวรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ (transform boundaries) ที่ซึ่งไม่มีการสร้างหรือทำลายแผ่นเปลือกโลก   แนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่นี้มักพบในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แนวเทือกเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเหลื่อมออกจากกัน บางบริเวณก็พบว่าตัดผ่านแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปด้วย ในมหาสมุทรแนวดังกล่าวนี้มักจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ ส่วนในภาคพื้นทวีปแนวดังกล่าวมักถูกจำกัดทำให้เกิดการสะสมพลังงานและก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเวลาต่อมาเมื่อเกิดการเลื่อนอย่างฉับพลัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดียส
เราสามารถแบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ ได้กว่า 20 แผ่น โดยภูเขาไฟและแผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกต่างๆ ดังเช่นบริเวณที่เรียกว่า วงแหวนภูเขาไปแปซิฟิก (the Pacific Ring of Fire)



เมื่อมีการสร้างแผ่นเปลือกโลกใหม่ที่บริเวณแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร แผ่นเปลือกโลกที่แก่กว่าจะถูกผลักออกไปทางด้านข้างในกระบวนการที่เรียกว่าการเปิดออกของพื้นมหาสมุทร (seafloor spreading) ดังนั้นเราสามารถเทียบอายุของเปลือกโลกได้จากกระบวนการนี้ แนวเทือกเขากลางมหาสมุทรคือบริเวณที่เป็นเส้นสีแถงตรงกลาง